Pseudoscience เกือบเชื่อละ แต่ไม่เชื่อดีกว่า : การทำโพลและหนังสือ How-to

เราเป็นคนนึงนะ ที่แบบสงสัยอยู่ตลอดเวลาเห็นผลโพล โดยเฉพาะโพลเลือกตั้ง ความนิยมในพรรคการเมือง นักการเมืองทั้งหลาย ว่าเขาไปสำรวจกันยังไง อยู่มาจะวัยกลางคนละ ยังไม่เคยถูกสำรวจเลยสักครั้ง ยิ่งสมัยนี้ทำโพลออนไลน์ออกจะง่ายแต่ก็ไม่เคยได้รับลิ้งค์มาบ้างเลย หลัง ๆ มานี้ยังพอดูดีหน่อยตรงที่ผลโพลยังมีความเสถียร อย่างลำดับความนิยมของพรรคการเมืองในระหว่างโพลไม่ได้แตกต่างกันมาก อาจมียกเว้นบางโพลที่ออกแนวเข้าข้างตัวเองอย่างเห็นได้ชัด ต้องบอกว่าถามใคร ผลโพลทั้งหมดจะให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ โดยมีอ้างอิงบ้างเล็กน้อยว่าเก็บข้อมูลจากไหน ซึ่งมักเป็นตัวเลขที่เข้าใจง่าย ๆ เช่น อายุ 20-60 ปี จำนวนหนึ่งแสนคนทั่วประเทศ แต่มักจะไม่ค่อยแจกแจงเป็น % เป็นสัดส่วนให้ชัด เราในฐานะที่เรียนสถิติมา (แม้จะเกรดไม่ดีนัก) อยากอธิบายเล็กน้อย (เอาจริง ๆ ไม่ต้องเรียนสถิติในระดับมหาวิทยาลัยหรอก เอาแค่สถิติกับความน่าจะเป็นช่วงมัธยมก็พอคิดได้) การทำโพลคือสถิติเชิงบรรยาย จำนวนกลุ่มตัวอย่างสำคัญก็จริง แต่ไม่สำคัญไปเก็บใครมาบ้าง หรือที่เรียกกันว่าเป็นตัวแทนประชากรได้ดีขนาดไหน เช่น หากจะถามผู้ชายอายุ 25 ปี เรื่องการดูแลสุขภาพ โดยถามคนที่กำลังกินวีแกนอยู่ในฟิตเนส กับคนที่กินฟาสต์ฟู๊ดอยู่ แม้คำตอบจะออกมาเหมือนกันว่าออกกำลังการสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นำ้หนักของคำตอบของ 2 คนนี้ย่อมต่างกัน ผลลัพธ์ไม่สำคัญเท่าวิธีการ (ได้มาซึ่งคำตอบ) สิ่งหนึ่งที่โพลไม่เคยบอกเลยก็คือวิธีการถามตอบของโพลนั้น ๆ […]